• Latest News

    วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

    จังหวัดตะกั่วป่า



    จากพงศาวดารปรากฏว่าก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น เมืองพังงาเป็นเมืองแขวงขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ยกฐานะเมืองพังงาขึ้นเป็นเมืองเทียบเท่าเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และโอนเมืองจากฝ่ายกรมท่ามาขึ้นเป็นฝ่ายกลาโหมตั้งแต่นั้นมา
    จนกระทั่ง พ.ศ. 2352 รัชกาลที่ 2 ทรงยกเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งและถลาง ให้อยู่ในความปกครองของนครศรีธรรมราช จนกระทั่งพม่าได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริที่จะปรับปรุงบูรณะหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกที่ถูกพม่าตี จึงให้ทุกหัวเมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ โดยมี............................(,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,) เป็นเจ้าเมือง เมื่อ พ.ศ. 2383 
    ครั้นถึง สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรง รวบรวมกลุ่มเมืองชั้นนอกเข้าเป็นมณฑล ใน พ.ศ. 2435 ซึ่งครั้งนี้ เมืองตะกั่วป่าจึงถูกรวมอยู่กับมณฑลภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2459 จนสมัยรัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าให้เปลี่ยนจากเมืองเป็นจังหวัด เมืองตะกั่วป่าจึงได้เป็น จังหวัดตะกั่วป่า โดยแบ่งการปกครองเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองตะกั่วป่า (อำเภอตลาดใหญ่), อำเภอปากน้ำ (อำเภอเกาะคอเขา) และอำเภอกะปง โดยมีการสร้างอาคารขึ้นในปี พ.ศ.2472 เพื่อใช้เป็นศาลากลางจังหวัดตะกั่วป่า จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2474 ในสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดภาวะเศรษฐกิจของชาติตกต่ำอย่างมาก ที่ประชุมเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตจึงมีมติให้ลดฐานะเป็นจังหวัดตะกั่วป่าลงมาเป็นอำเภอตลาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2475 โดยขึ้นตรงกับจังหวัดพังงา โดยตั้งที่ว่าการอำเภอ อยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดตะกั่วป่าเดิม ที่บ้านย่านยาว

    ที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่าเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าด้านสถาปัตยกรรม ลักษณะตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน พื้นอาคารเป็นไม้สัก มีทางเดินส่วนหน้าตลอดตัวอาคาร หลังคาทรงปั้นหยา ปูด้วยกระเบื้องหินทรายลูกฟูก เป็นสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีสประยุกต์ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร
    บทความใหม่กว่า
    Previous
    This is the last post.
    • Blogger Comments
    • Facebook Comments

    0 ความคิดเห็น :

    แสดงความคิดเห็น

    Item Reviewed: จังหวัดตะกั่วป่า Rating: 5 Reviewed By: phangngachannel
    Scroll to Top