จากงานงานแถลงข่าวก่อตั้งชมรมบาบ๋าชายฝั่งทะเลอันดามัน "Society Baba The Andaman Coast" 21st.September2015 หนึ่งในวัฒนธรรมล้ำค่าชาวตะกั่วป่าคือการแต่งกาย วัฒนธรรมชาวบาบ๋า วัฒนธรรมเพอรานากัน One of our Takuapa Heritage is costume. The culture of Baba people. The culture of Peranakan.
กลางพุทธศตวรรษที่ 23 ก่อน การเหมืองแร่ดีบุกซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ที่ดึงดูด ชาวจีนเข้ามายังเมืองตะกั่วป่า หรือ “เต็กโกป่า” ตามสำเนียงจีน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในเมืองตะกั่วป่า บวกกับความขยันอดทนของชาวจีนยุคนั้น ส่งผลให้เกิดความร่ำรวย มั่งคั่ง บ้างก็คิดตั้งรกราก แต่งงานอยู่กินกับคนพื้นถิ่นเดิม มีลูกหลานสืบแซ่สกุล ลูกหลานที่เกิดมามักเรียกว่า “ลูกบาบ๋า”
สตรีบาบ๋า เมืองตะกั่วป่า ในยุคนั้นมักจะแต่งกายและประดับประดาเพชรทองอย่างวิจิตรบรรจง ซึ่งเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสาน กลมกลืนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น จีน-มาเลย์-พม่า และอินโดนีเซีย โดยการแต่งกายทั่วไป มักสวมเสื้อคอสูง กลักกระดุมคอ 2 เม็ดคล้ายคอจีน เป็นเสื้อไม่เข้ารูปตัวเสื้อสั้นแค่สะเอว คล้ายพม่า แขนเสื้อยาวมีขอบ 2 จีบ คล้ายมาเลย์ สวมทับด้วยครุยสั้นไม่กลักกระดุม ใช้เข็มกลัดรูปช่อดอกไม้ หรือ กลัด โกรส้าง (Kerosany) นุ่งโสร่งปาเต๊ะคล้ายอินโดนีเซีย ทรงผมเกล้ามวยกลางกระหม่อม ประดับด้วยปิ่นและ ดอกมะลิ หรือดอกพุด ใส่ต่างหูตุ้งติ้ง เหน็บ ผ้าเช็ดหน้า พวงกุญแจนากหรือทอง กระเป๋าตาข่ายทองหรือเงินใบเล็กๆ ที่สะเอว คาดเข็มขัดทองหรือนาก
สำหรับชุดแต่งงาน เสื้อตัวในจะเป็นคอสูงแขนยาวมีขอบแขนและจีบ 2 จีบ เป็นเสื้อสั้นไม่เข้ารูปสวมทับด้วย ครุยยาว (baju panjang) นิยมตัดเย็บด้วยผ้าลูกไม้โปร่งหรือ ผ้าป่านแก้ว มีลวดลาย ผีเสื้อ และดอกไม้โทนสีอ่อน นุ่งโสร่งปาเตะ สวมรองเท้าปักลูกปัดปิดหัวเปิดส้น ประดับประดาด้วยเครื่องเพชร ทอง อย่างอลังการ อันประกอบด้วย สร้อยคอ จี้ แหวน ต่างหู กำไลข้อมือ ข้อเท้า ส่วนทรงผม หรือที่เรียกกันว่า “ชักอีโบย” ด้านบนเกล้ามวยหอยโข่ง ล้อมรอบด้วยมงกุฎดอกไม้ไหว หรือเรียกเป็นภาษาจีนว่า “ดอกเฉงก๊อ” ปิ่นทองประดับเพชรลูกหรือเพชรซีก บนสุดของมวยหอยโข่งประดับด้วยตัวหงส์หรือ “เฟิ่งหวง” (Phoenix) ประดิษฐ์จากดิ้นโปร่งสีเงิน หงส์หรือ เฟิ่งหวง มีอยู่ด้วยกัน 5 สายพันธ์ แต่ที่เลือกประดับมวยผมเจ้าสาวจะเป็น “หงส์ฟ้า” แทนความหมายของความยิ่งใหญ่ สงบร่มเย็น และความไพเราะอ่อนหวานของวาจา เนื่องด้วยหงส์เป็นใหญ่สุดในมวลสัตว์ปีกปรากฏตัวเมื่อแผ่นดินมีความสงบร่มเย็น และมีเสียงร้องไพเราะกังวาน เหมือนเสียงขลุ่ย รองลงมาเป็นผีเสื้อ และดอกไม้หรือเรียกว่า “ฮูเตี๊ยบ” แทนความสุข และชีวิตรักที่มั่นคง ยืนยาวของบ่าว-สาว
##Around late 18th century, the major industry in Takuapa was tin mining which attracted many Chinese migrants to the town. Many came to Takuapa or เต็กโกป่า to work. Because of their diligence and hard work together with the richness underground, many were successful and became rich. Many settled, married to the locals and had children. The children were called “Baba” For Takuapa, the term baba was used for either boys or girls.
Baba ladies in Takuapa often wore costume and jewellery which reflected a nice blend of various cultures such as Chinese, Malay, Burmese and Indonesian. She wore rather loose waist-long blouse (similar to Burmese style) with a high round collar fastened with 2 gold shanked buttons (like Chinese style), long sleeves with 2 pleats (like Malay) and short see-through gown with no button but fastened with โกรส้าง or flower-like pin. She wore sarong like Indonesian. Her hair was worn in a high bun secured with a set of hair pins and encircled with jasmine or jasmine-like flowers. She wore studded earrings. She usually wore gold or pink-gold belt which was also used to secure her handkerchief, gold or pink-gold key chain and a small gold or silver thread purse.
For the wedding costume, the bride wore a waist long, high round collar blouse, long sleeves with 2 pleats under a long gown which was made of translucent cloth such as voile or organdie. The fabric normally had patterns of butterflies or light-colour flowers. She wore sarong, beaded shoes with open heels and gold and diamond jewelleries such as necklace, pendant, ring, earrings, bracelets and anklets. Her hair style was ชักอีโบย, a high bun encircled with silver metallic thread flower-like tiara which was called เฉงก๊อ. The hair was secured with gold and diamond hairpins. On the top of the hair bun was decorated with the tiara, there were figures of เฟิ่งหวง or Phoenix made of silver metallic thread. The เฟิ่งหวง or in Thai called หงส์ฟ้า was a symbol of greatness, calmness and sweetness. เฟิ่งหวง was considered the greatest of all winged animals, only appeared when the land was calm and abundant. Second to เฟิ่งหวง was butterfly and flower which was called ฮูเตี๊ยบ which symbolized happiness and ever-lasting love of the bride and the groom.
บาบ๋า ย่าหยา ในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 1 ซึ่งสมัยนั้น มีการอพยพของชาวจีนมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก อันสืบเนื่องจากประเทศจีนในช่วงนั้นมีความไม่สงบทางการเมือง และ ภาวะสงคราม จึงทำให้ชายหนุ่มและเด็กหนุ่มที่ยังไม่มีครอบครัวทำการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีสงคราม จนกระทั่งบางคนได้ตั้งรกรากและสร้างครอบครัวใหม่กับคนท้องถิ่นในประเทศไทย โดย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำว่า "บ้าบ๋า" เป็นคำที่ใช้เรียกชายลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย และเรียกหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย ว่า "ย่าหยา" หรือใช้อีกคำว่า "เพอรานากัน" เป็นคำมาเลย์ แปลว่า "เด็กที่เกิดในท้องถิ่น" เป็นที่มาของคำว่า บาบ๋า หรือ เพอรานากัน หมายถึง ลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวจีนและคนท้องถิ่น พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล มาช้านาน
ส่วนลูกครึ่งที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวจีนกับคนท้องถิ่นเมืองตะกั่วป่านั้น จะเรียกรวมๆ ว่า บาบ๋า ซึ่งจะเกิดในช่วงรัชการที่ 3 หลังจากชาวยุโรปและอังกฤษ ได้มีความต้องการแร่ดีบุกเป็นอย่างมาก จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวฮกเกี้ยน หรือ บริษัทตัวแทนจัดหางานจากปีนังและสิงคโปร์ เข้ามาทำธุรกิจในการขุดแร่ และค้าขาย ในประเทศไทย โดยเมืองตะกั่วป่านั้นมี พระยาเสนานุชิตสิทธิสาตรามหาสงคราม เป็นผู้ปกครองเมือง ส่วน เมืองพังงา ก็มี พระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ) เป็นผู้ปกครองเมือง โดยทั้งสองเป็นลูกผู้ลากมากดีไม่มีความชำนานในการค้าขาย จึงได้มีการแต่งตั้งทนายเพื่อชักชวนชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยนเมืองปีนังเข้ามาทำการค้าขาย เมื่อนึกถึงสภาพทรัพยากรดีบุกที่มีความอุดมสมบูรณ์บวกกับความขยันของมานะทำกินของคนจีนในยุคนั้น จึงส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย บ้านก็ไม่คิดกลับมีการแต่งงานกับคนพื้นถิ่นตะกั่วป่า มีลูกหลานสืบแซ่สกุล หากเป็นลูกชายจะเรียกว่า ลูกบาบ๋า หากเป็นลูกสาวเรียกว่า หย่นหยา ซึ่งหมายถึง ลูกที่เกิดในแผ่นดินแม่ โดยแม่จะเป็นคนพื้นถิ่น และ พ่อจะเป็นบรรพชนที่มาจากแดนไกล
ข้อมูลยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบและสืบค้นเพิ่มเติม
กลางพุทธศตวรรษที่ 23 ก่อน การเหมืองแร่ดีบุกซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ที่ดึงดูด ชาวจีนเข้ามายังเมืองตะกั่วป่า หรือ “เต็กโกป่า” ตามสำเนียงจีน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในเมืองตะกั่วป่า บวกกับความขยันอดทนของชาวจีนยุคนั้น ส่งผลให้เกิดความร่ำรวย มั่งคั่ง บ้างก็คิดตั้งรกราก แต่งงานอยู่กินกับคนพื้นถิ่นเดิม มีลูกหลานสืบแซ่สกุล ลูกหลานที่เกิดมามักเรียกว่า “ลูกบาบ๋า”
สตรีบาบ๋า เมืองตะกั่วป่า ในยุคนั้นมักจะแต่งกายและประดับประดาเพชรทองอย่างวิจิตรบรรจง ซึ่งเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสาน กลมกลืนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น จีน-มาเลย์-พม่า และอินโดนีเซีย โดยการแต่งกายทั่วไป มักสวมเสื้อคอสูง กลักกระดุมคอ 2 เม็ดคล้ายคอจีน เป็นเสื้อไม่เข้ารูปตัวเสื้อสั้นแค่สะเอว คล้ายพม่า แขนเสื้อยาวมีขอบ 2 จีบ คล้ายมาเลย์ สวมทับด้วยครุยสั้นไม่กลักกระดุม ใช้เข็มกลัดรูปช่อดอกไม้ หรือ กลัด โกรส้าง (Kerosany) นุ่งโสร่งปาเต๊ะคล้ายอินโดนีเซีย ทรงผมเกล้ามวยกลางกระหม่อม ประดับด้วยปิ่นและ ดอกมะลิ หรือดอกพุด ใส่ต่างหูตุ้งติ้ง เหน็บ ผ้าเช็ดหน้า พวงกุญแจนากหรือทอง กระเป๋าตาข่ายทองหรือเงินใบเล็กๆ ที่สะเอว คาดเข็มขัดทองหรือนาก
สำหรับชุดแต่งงาน เสื้อตัวในจะเป็นคอสูงแขนยาวมีขอบแขนและจีบ 2 จีบ เป็นเสื้อสั้นไม่เข้ารูปสวมทับด้วย ครุยยาว (baju panjang) นิยมตัดเย็บด้วยผ้าลูกไม้โปร่งหรือ ผ้าป่านแก้ว มีลวดลาย ผีเสื้อ และดอกไม้โทนสีอ่อน นุ่งโสร่งปาเตะ สวมรองเท้าปักลูกปัดปิดหัวเปิดส้น ประดับประดาด้วยเครื่องเพชร ทอง อย่างอลังการ อันประกอบด้วย สร้อยคอ จี้ แหวน ต่างหู กำไลข้อมือ ข้อเท้า ส่วนทรงผม หรือที่เรียกกันว่า “ชักอีโบย” ด้านบนเกล้ามวยหอยโข่ง ล้อมรอบด้วยมงกุฎดอกไม้ไหว หรือเรียกเป็นภาษาจีนว่า “ดอกเฉงก๊อ” ปิ่นทองประดับเพชรลูกหรือเพชรซีก บนสุดของมวยหอยโข่งประดับด้วยตัวหงส์หรือ “เฟิ่งหวง” (Phoenix) ประดิษฐ์จากดิ้นโปร่งสีเงิน หงส์หรือ เฟิ่งหวง มีอยู่ด้วยกัน 5 สายพันธ์ แต่ที่เลือกประดับมวยผมเจ้าสาวจะเป็น “หงส์ฟ้า” แทนความหมายของความยิ่งใหญ่ สงบร่มเย็น และความไพเราะอ่อนหวานของวาจา เนื่องด้วยหงส์เป็นใหญ่สุดในมวลสัตว์ปีกปรากฏตัวเมื่อแผ่นดินมีความสงบร่มเย็น และมีเสียงร้องไพเราะกังวาน เหมือนเสียงขลุ่ย รองลงมาเป็นผีเสื้อ และดอกไม้หรือเรียกว่า “ฮูเตี๊ยบ” แทนความสุข และชีวิตรักที่มั่นคง ยืนยาวของบ่าว-สาว
##Around late 18th century, the major industry in Takuapa was tin mining which attracted many Chinese migrants to the town. Many came to Takuapa or เต็กโกป่า to work. Because of their diligence and hard work together with the richness underground, many were successful and became rich. Many settled, married to the locals and had children. The children were called “Baba” For Takuapa, the term baba was used for either boys or girls.
Baba ladies in Takuapa often wore costume and jewellery which reflected a nice blend of various cultures such as Chinese, Malay, Burmese and Indonesian. She wore rather loose waist-long blouse (similar to Burmese style) with a high round collar fastened with 2 gold shanked buttons (like Chinese style), long sleeves with 2 pleats (like Malay) and short see-through gown with no button but fastened with โกรส้าง or flower-like pin. She wore sarong like Indonesian. Her hair was worn in a high bun secured with a set of hair pins and encircled with jasmine or jasmine-like flowers. She wore studded earrings. She usually wore gold or pink-gold belt which was also used to secure her handkerchief, gold or pink-gold key chain and a small gold or silver thread purse.
For the wedding costume, the bride wore a waist long, high round collar blouse, long sleeves with 2 pleats under a long gown which was made of translucent cloth such as voile or organdie. The fabric normally had patterns of butterflies or light-colour flowers. She wore sarong, beaded shoes with open heels and gold and diamond jewelleries such as necklace, pendant, ring, earrings, bracelets and anklets. Her hair style was ชักอีโบย, a high bun encircled with silver metallic thread flower-like tiara which was called เฉงก๊อ. The hair was secured with gold and diamond hairpins. On the top of the hair bun was decorated with the tiara, there were figures of เฟิ่งหวง or Phoenix made of silver metallic thread. The เฟิ่งหวง or in Thai called หงส์ฟ้า was a symbol of greatness, calmness and sweetness. เฟิ่งหวง was considered the greatest of all winged animals, only appeared when the land was calm and abundant. Second to เฟิ่งหวง was butterfly and flower which was called ฮูเตี๊ยบ which symbolized happiness and ever-lasting love of the bride and the groom.
บาบ๋า ย่าหยา ในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 1 ซึ่งสมัยนั้น มีการอพยพของชาวจีนมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก อันสืบเนื่องจากประเทศจีนในช่วงนั้นมีความไม่สงบทางการเมือง และ ภาวะสงคราม จึงทำให้ชายหนุ่มและเด็กหนุ่มที่ยังไม่มีครอบครัวทำการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีสงคราม จนกระทั่งบางคนได้ตั้งรกรากและสร้างครอบครัวใหม่กับคนท้องถิ่นในประเทศไทย โดย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำว่า "บ้าบ๋า" เป็นคำที่ใช้เรียกชายลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย และเรียกหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย ว่า "ย่าหยา" หรือใช้อีกคำว่า "เพอรานากัน" เป็นคำมาเลย์ แปลว่า "เด็กที่เกิดในท้องถิ่น" เป็นที่มาของคำว่า บาบ๋า หรือ เพอรานากัน หมายถึง ลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวจีนและคนท้องถิ่น พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล มาช้านาน
ส่วนลูกครึ่งที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวจีนกับคนท้องถิ่นเมืองตะกั่วป่านั้น จะเรียกรวมๆ ว่า บาบ๋า ซึ่งจะเกิดในช่วงรัชการที่ 3 หลังจากชาวยุโรปและอังกฤษ ได้มีความต้องการแร่ดีบุกเป็นอย่างมาก จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวฮกเกี้ยน หรือ บริษัทตัวแทนจัดหางานจากปีนังและสิงคโปร์ เข้ามาทำธุรกิจในการขุดแร่ และค้าขาย ในประเทศไทย โดยเมืองตะกั่วป่านั้นมี พระยาเสนานุชิตสิทธิสาตรามหาสงคราม เป็นผู้ปกครองเมือง ส่วน เมืองพังงา ก็มี พระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ) เป็นผู้ปกครองเมือง โดยทั้งสองเป็นลูกผู้ลากมากดีไม่มีความชำนานในการค้าขาย จึงได้มีการแต่งตั้งทนายเพื่อชักชวนชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยนเมืองปีนังเข้ามาทำการค้าขาย เมื่อนึกถึงสภาพทรัพยากรดีบุกที่มีความอุดมสมบูรณ์บวกกับความขยันของมานะทำกินของคนจีนในยุคนั้น จึงส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย บ้านก็ไม่คิดกลับมีการแต่งงานกับคนพื้นถิ่นตะกั่วป่า มีลูกหลานสืบแซ่สกุล หากเป็นลูกชายจะเรียกว่า ลูกบาบ๋า หากเป็นลูกสาวเรียกว่า หย่นหยา ซึ่งหมายถึง ลูกที่เกิดในแผ่นดินแม่ โดยแม่จะเป็นคนพื้นถิ่น และ พ่อจะเป็นบรรพชนที่มาจากแดนไกล
ข้อมูลยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบและสืบค้นเพิ่มเติม
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น