ไฟตบ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตะบันไฟ เป็นหนึ่งในผลผลิตจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ใช้ในการจุดไฟ
ในสมัยโบราณ เรายังไม่มีไม้ขีดไฟใช้ เรามีวิธีการจุดไฟหลายวิธี ได้แก่การใช้ไม้แห้ง 2 แท่งมาขัดสีกันจนเกิดความร้อนถึงขั้นติดไฟได้ แต่ก็ต้องใช้เวลานาน ต่อมามีการใช้หินสองก้อนกระทบกันเกิดเป็นประกายไฟ ที่เราเรียกว่า หินเหล็กไฟ ทั้ง 2 วิธีนี้ เมื่อเกิดประกายไฟแล้วก็ต้องเอาเชื้อไฟ ได้แก่ ปุยนุ่นหรือสำลีมารองรับเพื่อให้ไฟติด การใช้ตะบันไฟก็เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งสะดวกกว่า 2 วิธีแรก
ตะบันไฟ มีรูปร่างคล้ายตะบันที่ใช้ตำหมากของคนไทยโบราณ อาศัยหลักการคล้ายลูกสูบเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งมีตัวตะบันเป็นกระบอก(หรือเสื้อสูบ) ทำจากเขาควายหรือไม้เนื้อแข็งเช่นไม้ชิงชัน นำมาเจาะให้เป็นรูกลม และมีลูกตะบัน (ตัวลูกสูบ) ทำจากเขาควายหรือไม้ชนิดเดียวกับตัวกระบอกมาเหลาเป็นแท่งกลมมีขนาดเดียวกับรูกระบอก แต่จะยาวกว่ารูกระบอกเล็กน้อย สำหรับตบหรือกระแทก ส่วนปลายเจาะเป็นแอ่งเพื่อบรรจุเชื้อไฟ เมื่อตบลูกตะบันเข้าไปอย่างแรงและรวดเร็ว ปริมาตรของอากาศภายในจะลดลง และความด้นจะเพิ่มขึ้น เกิดความร้อนจนทำให้เชื้อไฟติดได้
1. ตัวตะบันเป็นกระบอก(หรือเสื้อสูบ) ทำจากเขาควายหรือไม้เนื้อแข็งเช่นไม้ชิงชัน นำมาเจาะให้เป็นรูกลม
2. ลูกตะบัน (ตัวลูกสูบ) ทำจากเขาควายหรือไม้ชนิดเดียวกับตัวกระบอกมาเหลาเป็นแท่งกลมมีขนาดเดียวกับรูกระบอก แต่จะยาวกว่ารูกระบอกเล็กน้อย สำหรับตบหรือกระแทก ส่วนปลายเจาะเป็นแอ่งเพื่อบรรจุเชื้อไฟ หากลูกตะบันหลวมไม่พอดีก็จะใช้ใยไหมหรือด้ายดิบพันปลายลูกตะบันแล้วทาขี้ผึ้งให้ลื่น เมื่อลูกตะบันคับกับรูกระบอกตะบันจะทำให้เกิดแรงอัดมากและติดไฟง่ายยิ่งขึ้น
3. เชื้อไฟใช้ปุยต้นเต่าร้าง หรือปุยนุ่นนำผสมคลุกเคล้าเข้ากับดินประสิว ใส่ตรงส่วนปลายของลูกตะบันที่เจาะเป็นแอ่งไว้
4. เมื่อตบลูกตะบันเข้าไปอย่างแรงและรวดเร็ว ปริมาตรของอากาศภายในจะลดลง และความด้นจะเพิ่มขึ้น เกิดความร้อนจนทำให้เชื้อไฟติดได้
5. เมื่อจะใช้ใหม่ก็เอาเหล็กแหลมที่อยู่ปลายตะบันไฟขุดเอาขี้เถ้าออกจากแอ่งใส่เชื้อไฟออก
เมื่อตบลูกตะบันเข้าไปในกระบอก อย่างแรงและรวดเร็ว ปริมาตรของอากาศภายในจะลดลง และความด้นจะเพิ่มขึ้น เกิดความร้อนขึ้นทันทีจนทำให้เชื้อไฟติดได้ แล้วรีบขักออก จะเกิดไฟที่ปลายลูกตะบัน
ข้อมูลเกี่ยวกับ ต้นเต่าร้าง ที่เราเอาขุยมาทำเป็นเชื้อไฟ
ชื่ออื่นๆ : เต่าร้างแดง(41), เขืองหลวง, จอย
ชื่ออังกฤษ : Common fishtail palm(41), Jaggery palm, Toddy palm, Wine Palm
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Caryota mitis Lour. (Caryota urens Linn.)
วงศ์ : Palmae
ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชตระกูลปาล์ม พบทั่วไปในป่าดิบทุกแห่ง ชอบขึ้นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง บางต้นเตี้ย บางต้นสูงถึง 8 เมตร เนื้ออ่อนข้างในตรงบริเวณคอต้นรับประทานได้ แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อนเพราะยางของพืชชนิดนี้ โดยเฉพาะยางจากผล เมื่อถูกผิวหนังจะเกิดอาการคัน หรือถ้าเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
ต้นไม้ที่คนไทยเชื่อกันว่าจะส่งผลที่ไม่ดีแก่ผู้ปลูกนั้น มักจะมีชื่อที่ค่อนไปในทางที่ไม่ดีนัก ถือว่าเป็นอัปมงคลนาม เชื่อกันวาหากสามีภรรยาคู่ใด ปลูกต้นเต่าร้างเอาไว้ในบ้าน ก็อาจจะต้องเลิกราหย่าร้างกันไปก็เป็นได้ เพราะชื่อเต่าร้างนั้น ก็แสดงไปในความหมาย ของการเลิกร้าง-ร้างรา หรือหย่าร้างอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่เหมาะที่จะปลูกต้นไม้ชนิดนี้ ไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อครอบครัวของคุณคุณ จะได้มีแต่ความสงบสุขตลอดไป
สรรพคุณตามตำรายา : ราก ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ แก้หัวใจพิการ แก้ตับทรุด หัว ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ บำรุงตับ แก้กาฬขึ้นที่ตับ แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน บำรุงหัวใจ ไม่ระบุส่วน แก้ตับทรุด
ประโยชน์อื่นๆ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ช่วงประดับที่สวยงาม อยู่ในช่วงความสูง 2-5 เมตร
ข้อมูลการวิจัย-สารเคมีที่พบ : ไม่ระบุส่วน lauric acid, myristic acid, palmitic acid, oleic acid, linoleic acid
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น