• Latest News

    วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

    ชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรม และ บาบ๋า ตะกั่วป่า The Conservative Culture Club of Baba Takuapa

    ชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรม และ บาบ๋าตะกั่วป่า (The Conservative Culture Club of Baba Takuapa) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โดยนาย คุณานนต์ หลิมพานิช คณะนักเรียนโรงเรียนตะกั่วป่าเสนานุกูล และเยาวชนชาวตะกั่วป่าและได้รับการสนับสนุนจาก อาจารย์ เมฆาณี จงบุญเจือ และ อาจารย์ สมพิศ คลี่ขยาย


    ชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรม และ บาบ๋า ตะกั่วป่า นั้นจัดตั้งเนื่องจากแนวคิดที่จะช่วยพัฒนาชุมชน ด้วยเมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองวัฒนธรรมมีภาษาถิ่น อาหาร เป็นเอกลักษณ์ มีแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน แหล่งประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม รวมถึงวิถีชีวิตของชาวตะกั่วป่าดั่งเดิมมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ที่แสดงถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่เด่นชัดของชาวตะกั่วป่า ทั้งแสดงถึงรากเง้าความเป็นมาและตัวตนของคนในท้องถิ่นในฐานะเยาวชนจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะร่วมสืบสานอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรม เพื่อสืบทอดให้คงอยู่ซึ่งมีความปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยมีแนวทางการอนุรักษ์ยึดหลัก3ก.คือ
    1)เก็บรวบรวมข้อมูลสั่งสมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์
    2)การบรรยายถ่ายทอดสืบสานวัฒนธรรม
    3)การ สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู การดูแลรักษา และเผยแพร่งานทางวัฒนธรรม
    นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของชมรมที่ว่า “จะเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นโดยจะไม่ทำให้เป็นเรื่องล้าสมัย มีความเป็นเอกลักษณ์อย่างภาคภูมิ”


    The Conservative Culture Club of Baba Takuapa หรือในที่รู้จักกันในชื่อ ชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรม และ บาบ๋าตะกั่วป่ามีกิจกรรมการดำเนินงานและนโยบายการอนุรักษ์ไว้ดังนี้
    1.การส่งเสริมวัฒนธรรมในท้องถิ่น
    ได้แก่
    ''การแต่งกายประจำถิ่น''
    การแต่งกายของชาวตะกั่วป่าในสมัยโบราณ มีการผสมผสานวัฒนธรรมทั้งแบบจีนและแบบมาเลเซีย เช่น มีการใส่ผ้าปาเต๊ะเหมือนชาวมาเลเซียกับชุดครุยยาวซึ่งมีพัฒนาการมาจากชุดกี่เพ้าของจีนเป็นต้น มีลายละเอียดดังนี้
    -ชุดครุย
    -ชุดครุยท่อน
    ชุดปั่วตึ่งเต้
    -ชุดบาบ๋า
    -ผ้าปาเต๊ะ
    นอกจากเสื้อผ้าแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการใส่เครื่องแต่งกายก็คือเครื่องประดับ โดยทั่วไปชุดของชาวบาบ๋าเช่น เสื้อครุย หรือเสื้อปั่วตึ่งเต้จะไม่มีกระดุม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องประดับมากลัดหรือติด เครื่องประดับที่ชาวบาบ๋าใช้ มีดังนี้
    -กิ่มตู้น
    -ปิ่นตั้ง
    -โกรสัง
    นอกเหนือจากชุดหรือเครื่องประดับแล้วมีสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในวันแต่งงานของเจ้าสาวคือ มงกุฏดอกไม้ไหว หรือที่ชาวตะกั่วป่าเรียกว่า ฮั่วก๋วนสมัยโบราณจะทำด้วยเส้นทองเส้นเงินแท้ประดับด้วยมุก


    2.อาหารที่ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น
    วัฒนธรรมด้านอาหาร ขนม
    อาหารพื้นเมืองของชาวตะกั่วป่า เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของชาวจีนที่ชอบอาหารรสเค็มๆหวานๆและคนใต้ที่ชอบอาหารรสเผ็ดกันได้อย่างอย่างลงตัว
    ยกตัวอย่างอาหารท้องถิ่น สังเขป
    หมูฮ้อง น้ำชุบ เบือทอด(หญ้าช่อง) ฉายโบย บ่ะอี้โผ๊ะ ต้มส้ม เคยเค็ม หมูผัดเต้าหยู แกงจือแต็กกากี่ ผัดเกี่ยมฉ่าย ฯลฯ
    ยกตัวอย่างขนมท้องถิ่น สังเขป
    อ่างกู๋ เก็ตหล่องเตี๋ยว แต่เหลี่ยว โฮดโก้ย บีท้ายบัก กี่จ่าง อ่าโป้ง ป่าวหล๊าง มั่วหลาว เต้าส้อ บี้ผ้าง กีโกย บะจ่าง กลองถึง ขนมพริก ฉายถ่าวโก้ย โก้ตเบ่งก๊า ก๊าวเต่งโก้ย โก้ยตาล้าม เกี่ยมโก้ย โกซุ้ย ฯลฯ



    3.ประเพณีประจำถิ่น
    ประเพณี คือ สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติกันสืบต่อมาจนเป็นธรรมเนียม ซึ่งประเพณีเป็นเสมือนกระจกเงา ที่ส่องสะท้อนวิถีชีวิต ทัศนคติความเชื่อประเพณีที่มีการสืบทอดกันมาคู่บ้านคู่เมืองชาวตะกั่วป่าคือประเพณีกินเจ


    4.การส่งเสริมด้านโบราณ สถาปัตยกรรม
    โบราณสถาน วัด และแหล่งวัฒนธรรม
    -เขาพระเหนอ
    -กำแพงค่ายหรือกำแพงเมืองเก่า
    -ตึกแถวบ้านเรือนสไตล์ชิโนโปรตุกีส
    -หม้อสตรีมไอน้ำเรือกลไฟ
    -โรงเรียนเต้าหมิง
    -บ้านขุนอินทร


    5.การส่งเสริมภาษาถิ่น
    • Blogger Comments
    • Facebook Comments

    0 ความคิดเห็น :

    แสดงความคิดเห็น

    Item Reviewed: ชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรม และ บาบ๋า ตะกั่วป่า The Conservative Culture Club of Baba Takuapa Rating: 5 Reviewed By: phangngachannel
    Scroll to Top