เมื่อเวลา
10.00 น. วันที่ 25 ก.ย.58
นายอุดม เพชรคุต หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา พร้อมด้วยนายพิศิษฐ์ วิบูลย์ศิลป์ ผู้จัดการบริษัทกลางฯภาคใต้ตอนบน
(สุราษฎร์ธานี) นางสาวอุไร หนูชัยแก้ว ผจก.บริษัทกลางฯ สาขาพังงา ได้จัดโครงการ
กินข้าว เล่าเรื่อง งานปลอดภัยทางถนนจังหวัดพังงา ณ ห้องประชุม แดรี่ ฮัท ซีฟู๊ด
อ.เมืองพังงา โดยมีหัวหน้าส่วนราชการและสื่อมวลชนเข้าร่วมเสวนา
เพื่อเป็นการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติภัยทางท้องถนนได้อย่างครบถ้วนและยั่งยืน
นายอุดม
เพชรคุต เผย ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดพังงาจัดทำแผนปฏิบัติการ “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน
พ.ศ.2554-2563” มีกรอบแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยตามแนวทาง
5 เสาหลักภายใต้กรอบทศวรรษความปลอดภัยทางถนนโลก
ซึ่งมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่ำกว่า 10
คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนในปี 2563
ถือเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องดำเนินการให้เข้มข้นในทุกพื้นที่
ในการหารือในเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
พบสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่มากจาก ปัญหาสภาพพื้นผิวจราจร
ระบบแสงสว่างยามค่ำคืน สภาพรถที่ไม่ปลอดภัย การไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
และการไม่เคารพกฎจราจร จึงได้นำเสนอโปรแกรมปักหมุดจุดเสี่ยงในพื้นที่อันตราย
กิจกรรม RSC ของเยาวชน และองค์กรต้นแบบ ในปี 2556-2557 พบว่าหลังจากมีมาตรการป้องกันในระยะสั้นที่กำลังดำเนินการกันอยู่ขณะนี้คือ
การเฝ้าระวังในจุดเสี่ยง ประมาณ 100 จุดในช่วงเทศกาล และการป้องกันระยะยาวคือ
ทำ MOU องค์กร รัฐ เอกชน อปท. เรื่องการรณรงค์ให้มีการสวมหมวกและคาดเข็มขัดนิรภัย
ซึ่งพบว่า อัตราการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุลดลง จาก 60 คน เหลือ 45 คน ซึ่งลดลงมาถึง 25% และต่อจากนี้ไปเพื่อให้ลดการสูญเสียชีวิต ให้เหลือน้อยกว่า 26 คน ในปี 2563 จากประชากร สองแสนหกหมื่นคน ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดพังงาจะบูรณาการกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบเห็น
และลงพื้นที่เสี่ยงอุบัติเหตุผลักดันหน่วยงานเจ้าของแก้ไขต้นเหตุ การเกิดอุบัติเหตุ
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น