เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 21 ก.ย.58
ณ
ห้องประชุมโรงแรมมุกดาราบีช วิลล่า แอนด์ สปา เขาหลัก อ.ตะกั่วป่า
จ.พังงา นายประยูร รัตนเสนีย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา,นางมีนา
รัตนเสนีย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดพังงา,พลเรือตรี ชัยณรงค์ ขาววิเศษ
ผู้บัญชาการฐานทัพเรือพังงา,นาวาเอก กนกพล พิมพ์ทอง รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพังงา,นางอำพัน
รุ่งแจ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา,นางสาวหทัยรัตน์ คงชนะ ขนส่งจังหวัดพังงา,นายมานิต
เพียรทอง นายอำเภอตะกั่วป่า,นางสุนัฎฐา เพียรทอง นายกเหล่ากาชาดอำเภอตะกั่วป่า,นายจรินทร์
นีรนาทวโรดม ประธานชมรมชาวบาบ๋าฝั่งทะเลอันดามัน,คณะอาจารย์โรงเรียนตะกั่วป่า”เสนานุกูล”,และชาว บาบ๋า-ย่าหยา กว่า 200 ท่าน
ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวชมรมชาวบาบ๋าฝั่งทะเลอันดามัน ก่อนจะร่วมเดินแบบด้วยชุดบาบ๋า-ย่าหยา และร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
นายจรินทร์ นีรนาทวโรดม กล่าว
ชาวบาบ๋าของไทยจะพบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และ สตูล
โดยพบว่า ในช่วงรัชการที่ 3 ชาวยุโรปและอังกฤษ
ได้มีความต้องการดีบุกเป็นอย่างมาก จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวฮกเกี้ยน หรือ บริษัทตัวแทนจัดหางานจากปีนังและสิงคโปร์
เข้ามาทำธุรกิจในการขุดแร่ และค้าขาย ในประเทศไทย โดยตะกั่วป่านั้นมี พระยาเสนานุชิตสิทธิสาตรามหาสงคราม
เป็นผู้ปกครองเมือง ส่วน พังงา ก็มี พระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ)
เป็นผู้ปกครองเมือง โดยทั้งสองเป็นลูกผู้ลากมากดีไม่มีความชำนานในการค้าขาย
จึงได้มีการแต่งตั้งทนายเพื่อชักชวนชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยนเมืองปีนังเข้ามาทำการค้าขาย
เมื่อนึกถึงสภาพทรัพยากรดีบุกที่มีความอุดมสมบูรณ์บวกกับความขยันของมานะทำกินของคนจีนในยุคนั้น
จึงส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย
บ้านก็ไม่คิดกลับมีการแต่งงานกับคนพื้นถิ่นตะกั่วป่า มีลูกหลานสืบแซ่สกุล
หากเป็นลูกชายจะเรียกว่า ลูกบาบ๋า หากเป็นลูกสาวเรียกว่า หย่นหยา ซึ่งหมายถึง
ลูกที่เกิดในแผ่นดินแม่ โดยแม่จะเป็นคนพื้นถิ่น และ พ่อจะเป็นบรรพชนที่มาจากแดนไกล
วัฒนธรรมบาบ๋า เป็นวัฒนธรรมที่สุดคลาสสิค มีการพบกันครึ่งทางจนเกิดวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาที่เรียกกันว่า
บาบ๋า ตั้งแต่ในเรื่องอัตลักษณ์การแต่งกาย พิธีกรรม ความเชื่อ อาหารการกิน
ซึ่งชาวตะกั่วป่าคุ้นเคยกันมานานโดยหารู้ไหมว่าสิ่งที่กำลังเสพกำลังดูอยู่นั้นเป็นวัฒนธรรมบาบ๋า
ที่มีมากว่า 100 ปี จึงเป็นที่มาของงานแถลงข่าวตั้งชมรมบาบ๋าฝั่งทะเลอันดามัน
เพื่อเป็นการปลุกจิตรสำนึกให้กับคนตะกั่วป่าได้หันมาใส่ใจกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของตัวเองให้รู้ที่มาที่ไป
รู้รากเหง้า และเป็นการจุดประกายให้กับเยาวชน ได้หันมาดีไซน์ ออกแบบ กิจกรรมต่าง ๆ
ที่มีประโยชน์ ต่อชุมชน เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่เป็นวัฒนธรรม
ซึ่งสมควรแก่เวลาที่ลูกหลานชาวบาบ๋า ต้องหันมาใส่ใจรากเหง้าวัฒนธรรม
รวมทั้ง สืบค้น อนุรักษ์ และส่งต่อให้กับรุ่นต่อ ๆ ไป
นายประยูร รัตนเสนีย์ กล่าว บาบ๋า ถือเป็นเอกลักษณ์ และ
อัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นอันทรงคุณค่า ของชาวพังงา ซึ่งสมควรที่จะนำไปขยายผล
จุดประกายให้เยาวชนได้มีบทบาทในการสืบทอด วัฒนธรรมการแต่งกาย บาบ๋า ที่ถูกต้อง
พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกันมาช่วยสนับสนุนให้เป็นที่แพร่หลาย
ประกอบกับ จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยว จึงทำให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นนโยบายหลักอันหนึ่งที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว และจะเป็นปัจจัยที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเพิ่มระยะเวลาที่จะพักในจังหวัดพังงานานขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน การกระจายรายได้สู่สังคมอีกด้วย
ประกอบกับ จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยว จึงทำให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นนโยบายหลักอันหนึ่งที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว และจะเป็นปัจจัยที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเพิ่มระยะเวลาที่จะพักในจังหวัดพังงานานขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน การกระจายรายได้สู่สังคมอีกด้วย
โดยก่อนหน้านี้ จังหวัดพังงาได้ประกาศขอความร่วมมือให้ทุกวันพฤหัส
เป็นวันที่ทุกภาคส่วนร่วมกันแต่งชุดท้องถิ่น และพบว่าชาวจังหวัดพังงา
ได้ร่วมกันตัดชุดบาบ๋า-ย่าหยา ใส่มาทำงานเป็นจำนวนมาก
ซึ่งทำให้มีความรู้สึกดีใจที่ชาวพังงาได้มีการรักษาและสืบทอดเอกลักษณ์ และ
อัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอาไว้
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น