ความรู้กฏจราจร สำหรับจักรยาน
เพื่อนนักปั่นควรรู้เกี่ยวกับกฏจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 เพื่อเราจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
เพื่อนนักปั่นควรรู้เกี่ยวกับกฏจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 เพื่อเราจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
พระราชบัญญติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ลักษณะ 10
มาตรา 79 ทางใดที่ได้จัดไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับในทางนั้น
มาตรา 80 รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่จักรยานต้องจัดให้มี
1) กระดิ่งที่ให้เสียงสัญญาณได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
2) เครื่องห้ามที่ใช้การได้ดีเมื่อใช้ สามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ในทันที
3) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาวไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหน้าเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่าสิบห้าเมตร และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมา
4) โคมไฟติดท้ายรถจักรยานแสงแดงไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงสว่างตรงไปข้างหลังหรือติดวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทน ซึ่งเมื่อถูกส่องให้มีแสงสะท้อน
1) กระดิ่งที่ให้เสียงสัญญาณได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
2) เครื่องห้ามที่ใช้การได้ดีเมื่อใช้ สามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ในทันที
3) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาวไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหน้าเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่าสิบห้าเมตร และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมา
4) โคมไฟติดท้ายรถจักรยานแสงแดงไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงสว่างตรงไปข้างหลังหรือติดวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทน ซึ่งเมื่อถูกส่องให้มีแสงสะท้อน
มาตรา 81 ในเวลาต้องเปิดไฟตาม มาตรา 11 หรือ มาตรา 61 ผู้ขับขี่รถจักรยานอยู่ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ต้องจุดโคมไฟแสงขาวหน้ารถเพื่อให้ผู้ขับขี่ หรือคนเดินเท้า ซึ่งขับรถหรือเดินสวนสามารถมองเห็นรถ
มาตรา 82 ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องขับขี่รถจักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น
มาตรา 83 ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยาน
1) ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
2) ขับโดยไม่จับคันบังคับรถ
3) ขับขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
5) ขับโดยบรรทุกผู้อื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อสำหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
6) บรรทุก หรือถือสิ่งของใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวาง การจับคันบังคับรถ หรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่
1) ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
2) ขับโดยไม่จับคันบังคับรถ
3) ขับขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
5) ขับโดยบรรทุกผู้อื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อสำหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
6) บรรทุก หรือถือสิ่งของใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวาง การจับคันบังคับรถ หรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่
มาตรา 84 เว้นแต่บทบัญญัติในลักษณะนี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานปฏิบัติตาม มาตรา 21
มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 37
มาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49 มาตรา 50
มาตรา 51 มาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 59 มาตรา 60 มาตรา 61
มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 69 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 72 มาตรา 73 มาตรา 74 มาตรา 76 (2)
มาตรา 78 มาตรา 125 มาตรา 127 และมาตรา 133 ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 37การใช้สัญญาณด้วยมือและแขนให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.เมื่อจะลดความเร็วของรถให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
2.เมื่อจะหยุดรถให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น
3.เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้าให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลายครั้ง
4.เมื่อจะเลี้ยวขวา ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
5.เมื่อจะเลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง
เพื่อให้เข้าใจ พ.ร.บ. นี้ง่ายขึ้น ชมรมจักรยานเพื่อนสุขภาพแห่งประเทศไทย ได้สรุปไว้ดังนี้
ได้ข้อสรุปว่า:
มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 37
มาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49 มาตรา 50
มาตรา 51 มาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 59 มาตรา 60 มาตรา 61
มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 69 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 72 มาตรา 73 มาตรา 74 มาตรา 76 (2)
มาตรา 78 มาตรา 125 มาตรา 127 และมาตรา 133 ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 37การใช้สัญญาณด้วยมือและแขนให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.เมื่อจะลดความเร็วของรถให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
2.เมื่อจะหยุดรถให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น
3.เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้าให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลายครั้ง
4.เมื่อจะเลี้ยวขวา ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
5.เมื่อจะเลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง
เพื่อให้เข้าใจ พ.ร.บ. นี้ง่ายขึ้น ชมรมจักรยานเพื่อนสุขภาพแห่งประเทศไทย ได้สรุปไว้ดังนี้
ได้ข้อสรุปว่า:
สถานะ: รถจักรยาน 2 ล้อที่เข้าข่ายว่าเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น แสงอาทิตย์ ฯลฯ ถือว่ามีสถานะเป็นรถจักรยานยนต์ตามพรบ.จราจรทางบกฯ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎจราจรเช่นเดียวกับรถจักรยานยนต์ และถ้ามีขนาดวงล้อเกิน 10 นิ้ว กับมีกำลังเท่ากับเครื่องยนต์ปริมาตรกระบอกสูบ 50 ซีซี. ก็ถือว่ามีสถานะเป็นรถจักรยานยนต์ตามพรบ.รถยนต์ฯ ด้วย ซึ่งจะต้องนำไปจดทะเบียนตามพรบ.รถยนตร์ฯ ทั้งยังจะถูกจัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตามพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ อีกด้วย สำหรับรถจักรยาน Motor Pedal (MOPED) กับรถจักรยาน PAS (Power Assist System) ซึ่งเป็นจักรยานที่ต้องถีบก่อนมอเตอร์จึงจะทำงานนั้น ถ้ามีขนาดวงล้อและกำลังเครื่องยนต์ถึงข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก ก็อาจจะเข้าข่ายดังกล่าวได้เช่นกัน
โคมไฟ: รถจักรยาน 2 ล้อ ให้มีโคมไฟแสงขาว 1 ดวงติดไว้หน้ารถ และโคมไฟแสงแดงหรือวัสดุสะท้อนแสงสีแดง 2 ดวงติดไว้ท้ายรถ ในเวลาที่แสงพอที่จะมองเห็นสิ่งกีดขวางในทางได้ ภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ให้บังคับโคมไฟหน้ารถให้ส่องเห็นพื้นทางไม่น้อยกว่า 15 เมตร และอยู่ต่ำกว่าสายตาของผู้ซึ่งขับรถสวนมา
การบรรทุก: รถจักรยาน 2 ล้อบรรทุกคนไม่ได้ บรรทุกได้แต่สิ่งของเพียง 30 กิโลกรัม
การรับจ้าง: ถ้าจะรับจ้างส่งเอกสารและขนส่งสินค้าชิ้นเล็กๆ ด้วยรถจักรยาน ๒ ล้อก็สามารถทำได้เลย เพราะพรบ.จราจรทางบกฯ กำหนดให้รถจักรยาน 2 ล้อ บรรทุกของได้ถึง 30 กิโลกรัม ส่วนการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารนั้น นอกจากพรบ.ล้อเลื่อนฯ จะไม่เคยให้จดทะเบียนรถจักรยาน 2 ล้อเป็นรถรับจ้างแล้ว ยังได้ยกเลิกการจดทะเบียนรถจักรยาน 2 ล้อไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2500
โคมไฟ: รถจักรยาน 2 ล้อ ให้มีโคมไฟแสงขาว 1 ดวงติดไว้หน้ารถ และโคมไฟแสงแดงหรือวัสดุสะท้อนแสงสีแดง 2 ดวงติดไว้ท้ายรถ ในเวลาที่แสงพอที่จะมองเห็นสิ่งกีดขวางในทางได้ ภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ให้บังคับโคมไฟหน้ารถให้ส่องเห็นพื้นทางไม่น้อยกว่า 15 เมตร และอยู่ต่ำกว่าสายตาของผู้ซึ่งขับรถสวนมา
การบรรทุก: รถจักรยาน 2 ล้อบรรทุกคนไม่ได้ บรรทุกได้แต่สิ่งของเพียง 30 กิโลกรัม
การรับจ้าง: ถ้าจะรับจ้างส่งเอกสารและขนส่งสินค้าชิ้นเล็กๆ ด้วยรถจักรยาน ๒ ล้อก็สามารถทำได้เลย เพราะพรบ.จราจรทางบกฯ กำหนดให้รถจักรยาน 2 ล้อ บรรทุกของได้ถึง 30 กิโลกรัม ส่วนการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารนั้น นอกจากพรบ.ล้อเลื่อนฯ จะไม่เคยให้จดทะเบียนรถจักรยาน 2 ล้อเป็นรถรับจ้างแล้ว ยังได้ยกเลิกการจดทะเบียนรถจักรยาน 2 ล้อไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2500
การให้สัญญาณด้วยมือและแขน: ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ลดความเร็ว ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
(2) หยุดรถ ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น
(3) จะให้รถคันอื่นแซง ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ และโบกมือไปข้างหน้าหลายครั้ง
(4) จะเลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ยื่นแขนขวาไปนอกรถเสมอไหล่
(5) จะเลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ยื่นแขนขวาออกไปนอกรถเสมอไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง
ข้อ ห้ามขี่ 8 ลักษณะ: ประเทศไทยห้ามมิให้ผู้ขับขี่ ขับรถทุกชนิด รวมทั้งรถจักรยาน 2 ล้อ ดังนี้
(1) ลดความเร็ว ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
(2) หยุดรถ ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น
(3) จะให้รถคันอื่นแซง ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ และโบกมือไปข้างหน้าหลายครั้ง
(4) จะเลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ยื่นแขนขวาไปนอกรถเสมอไหล่
(5) จะเลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ยื่นแขนขวาออกไปนอกรถเสมอไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง
ข้อ ห้ามขี่ 8 ลักษณะ: ประเทศไทยห้ามมิให้ผู้ขับขี่ ขับรถทุกชนิด รวมทั้งรถจักรยาน 2 ล้อ ดังนี้
(1) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
(2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
(3) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
(4) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(5) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
(6) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
(7) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
(8) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
(2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
(3) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
(4) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(5) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
(6) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
(7) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
(8) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
ข้อห้ามจอด 15 แห่ง:
(1) บนทางเท้า
(2) บนสะพานหรือในอุโมงค์
(3) ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก
(4) ในทางข้าม หรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม
(5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
(6) ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
(7) ในระยะสิบเมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร (8) ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน
(9) ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
(10) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ (11) ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
(12) ในที่คับขัน
(13) ในระยะสิบห้าเมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง และเลยเครื่องหมายไปอีกสามเมตร
(14) ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์
(15) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
(1) บนทางเท้า
(2) บนสะพานหรือในอุโมงค์
(3) ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก
(4) ในทางข้าม หรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม
(5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
(6) ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
(7) ในระยะสิบเมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร (8) ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน
(9) ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
(10) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ (11) ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
(12) ในที่คับขัน
(13) ในระยะสิบห้าเมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง และเลยเครื่องหมายไปอีกสามเมตร
(14) ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์
(15) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
ข้อกำหนดความเร็ว:
กฎหมายเกี่ยว กับความเร็วของรถ มีกำหนดอยู่ใน พรบ.จราจรฯ ฉบับเดียว โดยกำหนดอัตราความเร็วไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2522) และแก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2524) ทั้ง 2 ฉบับกำหนดความเร็วไว้เฉพาะรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไม่ได้รวมถึงรถจักรยาน 2 ล้อ ฉะนั้น ถ้าพูดเฉพาะประเด็นเรื่องความเร็วอย่างเดียวแล้ว ไม่ว่าจะในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล หรือนอกเขตดังกล่าว อัตราความเร็ว 90 กม./ชม. ก็ไม่ใช่เพดานความเร็วสำหรับรถจักรยาน 2 ล้อ แต่ก็ใช่ว่ากฎหมายจราจรจะปล่อยให้รถจักรยาน 2 ล้อใช้ความเร็วได้ในทุกกรณี เพราะพรบ.จราจรฯ มาตรา 83 (1) ยังกำหนดกติกาไว้อีกชั้นหนึ่งว่า การขับขี่รถจักรยานนั้น ต้องไม่ประมาทและไม่น่าหวาดเสียว จนอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน จึงจะถือว่าไม่เป็นความผิดตามกฎหมายจราจร
กฎหมายเกี่ยว กับความเร็วของรถ มีกำหนดอยู่ใน พรบ.จราจรฯ ฉบับเดียว โดยกำหนดอัตราความเร็วไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2522) และแก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2524) ทั้ง 2 ฉบับกำหนดความเร็วไว้เฉพาะรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไม่ได้รวมถึงรถจักรยาน 2 ล้อ ฉะนั้น ถ้าพูดเฉพาะประเด็นเรื่องความเร็วอย่างเดียวแล้ว ไม่ว่าจะในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล หรือนอกเขตดังกล่าว อัตราความเร็ว 90 กม./ชม. ก็ไม่ใช่เพดานความเร็วสำหรับรถจักรยาน 2 ล้อ แต่ก็ใช่ว่ากฎหมายจราจรจะปล่อยให้รถจักรยาน 2 ล้อใช้ความเร็วได้ในทุกกรณี เพราะพรบ.จราจรฯ มาตรา 83 (1) ยังกำหนดกติกาไว้อีกชั้นหนึ่งว่า การขับขี่รถจักรยานนั้น ต้องไม่ประมาทและไม่น่าหวาดเสียว จนอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน จึงจะถือว่าไม่เป็นความผิดตามกฎหมายจราจร
การลากจูง: ห้ามใช้รถจักรยาน 2 ล้อลากรถจักรยาน 2 ล้อด้วยกัน หรือจูงรถอื่นไปในทางเกิน 1 คัน
การปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ: ถ้าขับขี่รถ(ทุกชนิดรวมทั้งจักรยาน)ในทางแล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัว และแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย ในกรณีที่ผู้ขับขี่หลบหนีไป หรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิด และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตน ว่าเป็นผู้ขับขี่ จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในหกเดือนนับแต่วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ
การขับขี่ในทางจราจร: กรณี มีเลนรถประจำทางอยู่ด้านซ้ายสุดของถนน ต้องขับขี่รถจักรยาน 2 ล้อในเลนที่อยู่ทางขวาของเลนรถประจำทาง แต่ให้ขี่ด้านซ้ายของเลน ซึ่งจะชิดกับเลนรถประจำทาง
อุปกรณ์ 4 อย่างที่ต้องมี : อุปกรณ์หลักที่ต้องติดตั้งกับตัวรถจักรยาน 2 ล้อ คือ
(1) กระดิ่ง
(2) เบรก
(3) ไฟหน้าแสงขาวที่ส่องเห็นพื้นทางได้ในระยะ 15 เมตร
(4) ไฟท้ายแสงแดงหรือติดวัตถุสะท้อนแสงสีแดง
(1) กระดิ่ง
(2) เบรก
(3) ไฟหน้าแสงขาวที่ส่องเห็นพื้นทางได้ในระยะ 15 เมตร
(4) ไฟท้ายแสงแดงหรือติดวัตถุสะท้อนแสงสีแดง
สิ่งไม่ควรทำ ๗ ประการ: ใน ทางเดินรถ หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามขับรถจักรยาน ดังนี้
(1) ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอัน อาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(2) ขับโดยไม่จับคันบังคับรถ
(3) ขับขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
(4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
(5) ขับโดยบรรทุกบุคคลอื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อสำหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
(6) บรรทุก หรือถือสิ่งของ หีบห่อ หรือของใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจับคันบังคับรถ หรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน
(7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่
(1) ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอัน อาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(2) ขับโดยไม่จับคันบังคับรถ
(3) ขับขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
(4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
(5) ขับโดยบรรทุกบุคคลอื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อสำหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
(6) บรรทุก หรือถือสิ่งของ หีบห่อ หรือของใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจับคันบังคับรถ หรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน
(7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่
หมวกกันน็อค: บังคับ แต่มอเตอร์ไซค์ ไม่รวมถึงจักรยาน
ข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง สัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจร: สัญญาณจราจร แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่
(1) สัญญาณไฟจราจร
(2) สัญญาณด้วยมือและแขนของพนักงานเจ้าหน้าที่
(3) สัญญาณ นกหวีด
(1) สัญญาณไฟจราจร
(2) สัญญาณด้วยมือและแขนของพนักงานเจ้าหน้าที่
(3) สัญญาณ นกหวีด
เครื่อง หมายจราจร แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
(1) ชนิดแผ่นป้าย มี 2 ประเภท คือ
(ก) ประเภทบังคับ
(ข) ประเภทเตือน
(1) ชนิดแผ่นป้าย มี 2 ประเภท คือ
(ก) ประเภทบังคับ
(ข) ประเภทเตือน
(2) ชนิดบนผิวทางและขอบทาง
สุดท้ายขอให้นักปั่น ปั่นกันให้สนุกปลอดภัย และเคารพกฏจราจรดังกล่าวด้วยครับ
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น